welcoee

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกกาเข้ารเรียนครั้งที่5

ครั้งที่5
วันที่ 13 กรกฎาคม 2555
         ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานกลุ่ม ที่อาจารย์มอบหมายให้ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ทั้งหมดมีอยู่ 5 กลุ่ม ดังนี้
          กลุ่มที่ 1 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 4 ขวบ 
          กลุ่มที่ 2 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 3 ขวบ
          กลุ่มที่ 3 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 2 ขวบ
          กลุ่มที่ 4 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 6 ขวบ
          กลุ่มที่ 5 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 9-11 ขวบ
โดยกลุ่มของดิฉันได้ เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 4 ขวบ
เพิ่มเติม
        พัฒนาการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย อายุ 3-4 ปี- พุดเสียงสระ เสียงวรรณยุกต์และตัวสะกดได้ชัดครบทุกเสียง แต่เสียงพยัญชนะ ม น ห ย ด อ ว บ ก ป ท ต ล ว พ ง ด มีการพูดไม่ชัดเจนบ้าง
และพูดไม่คล่อง
- พูดคำศัพท์ได้ประมาณ 900 – 1500 คำ
- ใช้สรรพนานที่เป็นพหูพจน์ สรรพนามแทนเพศ คำนามและคำกริยา ได้
- พูดวลีหรือประโยคที่มีความยาว 3 คำขึ้นไป
- สนทนาได้ประมาณ 5 นาที
- ซักถาม อะไร ใคร ที่ไหน ทำไม
- ใช้คำสันธาน “และ”
อายุ 4 - 5 ปี- พูดเสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกดได้ชัดครบทุกเสียง พูดเสียงพยัญชนะ ฟ และ ช ได้ชัดจนขึ้น พูดไม่คล่องเป็นบางครั้ง
- พูดคำศัพท์ได้ประมาณ 1500 – 2000 คำ
- ใช้คำกริยา คำวิเศษณ์ คำลงท้ายและคำอุทานได้
- พูดประโยคที่มีความยาวได้ 4 คำ ขึ้นไปและเป็นประโยคที่เป็นเหตุเป็นผล
- เล่าเรื่องเกี่ยวกับตนเองและผู้อื่นได้โดยผู้ใหญ่แนะเล็กน้อย
- ตอบคำถามง่ายๆได้ มักถาม เมื่อไหร่ อย่างไร
- ใช้คำสันธาน “แต่” “เพราะว่า”
อายุ 5 - 6 ปี- พูดเสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกดได้ชัดครบทุกเสียง พูดเสียงพยัญชนะ ส ได้ชัดเจนขึ้น เสียง ร อาจยังไม่ชัด
- พูดคำศัพท์ไดประมาณ 2500 – 2800 คำ
- ใช้คำสรรพนาม คำกริยา คำบุพบท ได้ถูกต้อง
- พูดประโยคที่มีความยาว5 – 6 คำขึ้นไป เช่นประโยคที่มีความซับซ้อนขึ้น และมักใช้ประโยคคำสั่ง
- พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ กับผู้อื่นได้อย่างสัมพันธ์กับเรื่องที่พูด
พัฒนาการด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย
ขั้น ที่ 1 การอ่านขั้นแรกเริ่ม เด็กจะดูหนังสือเรื่องที่ชอบ พูดข้อความในหนังสือด้วยภาษาของตนทำท่าทางเหมือนอ่านหนังสือ ไม่สนใจข้อความตามลำดับของเรื่อง
ขั้นที่ 2 การอ่านขั้นแรกเริ่มในระยะก้าวหน้าเด็กจะกวาดตามองข้อความตามบรรทัด ดูข้อความที่มีตัวหนังสือตัวใหญ่
ขั้นที่ 3 การในระยะที่กำลังที่จะก้าวไปสู่การอ่านขั้นต้น เด็กจะรู้จักคำที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ชี้และบอกชื่อของตัวอักษรส่วนใหญ่ได้
ขั้น ที่ 4 การอ่านขั้นต้น เด็กจะชี้หรือกวาดตามองจุดเริ่มต้นและจุดจบของคำบางคำ ใช้เสียงพยัญชนะที่รู้จักในการคาดเดา คัดลอกหรือเขียนสื่อความหมายโดยใช้ภาษาง่ายๆของตนเอง
ขั้นที่ 5 การอ่านขั้นต้นในระยะก้าวหน้าคาดเดาข้อความจากสิ่งชี้แนะโดยดูพยัญชนะตัวแรก ของคำ จำและตรวจสอบตัวอักษรที่สัมพันธ์กับเสียงของคำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น