welcoee

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่13

ครั้งที่13
วันที่ 7 กันยายน 2555
          วันนี้อาจารย์แจกสีพร้อมกับแผ่นประดิษฐ์ต้วอักษรให้นักศึกษาคนละ 1 ชุด จากนั้นอาจารย์ได้สรุปเรื่องของภาษาของเด็กเริ่มต้นจากการสัมภาษณ์และวิเคราะห์ทางภาษาของเด็ก อาจารย์ตัวอย่างสื่อที่ใช่ส่งเสริมทางภาษา ได้แก่ นิทาน เพลง คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย อาจารย์พูดถึงการจัดมุมประสบการณ์ทางภาษา เช่น รูปภาพ นิทาน บัตรคำ  อาจารย์เน้นความสำคัญการส่งเสริมทางภาษามี 4 ด้าน คือ การฟังคือฟังเทปฟังแผ่นเสียง การพูดคือให้เด้กเล่นหุ่นมือ การอ่านคือมีนิทานให้เด็กได้อ่าน การเขียนคือมีกระดาษเล็กๆใส่กล่องกับดินสอไว้ให้เด็กๆได้เขียนฝึกเขียน

เพิ่มเติม
  สื่อการสอนเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา
           เนตรนภา ธรรมบวร กล่าวโดยสรุปถึงการเรียนรู้ทางภาษาของเด็กว่า การสอนภาษาแบบเดิมไม่เน้นความสำคัญของประสบการณ์ และภาษาที่เด็กใช่ในชีวิตประจำวัน แต่การสอนแบบธรรมชาติหรือแบบองค์รวมเป็นการสอนที่มีแนวความคิดว่า เด็กจะพยายามหาวีธีที่จะนำเสอนประสบการณ์ของตนผ่านการเล่น การลงมือปฏิบัติ การสือสารในห้องเรียนที่มีการเรียนการสอน

   กิจกรรมสนุกส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
            การสอนภาษาสำหรับเด็กเล็กให้เป็นเรื่องสนุกพร้อมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ ภาษานั้น ต้องทำกิจกรรมให้เป็นเรื่องท้าทายความสามารถของเด็ก และต้องไม่ยากเกินความสามารถที่เขาจะทำเองได้ แต่ก็ต้องมีผู้ใหญ่คอยช่วยเหลืออยู่ใกล้ๆ ที่สำคัญกิจกรรมต้องมีหลากหลาย เพื่อตอบสนองความแตกต่างของเด็ก ๆ
1. เรื่องเล่าเช้านี้ (Morning Message)
ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการได้สนทนากันตอนเช้าระหว่างคุณครูกับเด็ก และระหว่างกับเด็กด้วยกัน เพราะโดยธรรมชาติของเด็ก ๆ แล้ว มีเรื่องมากมายที่อยากจะเล่าให้คุณครูฟัง ดังนั้นเวลาในช่วงเช้าก่อนเริ่มต้นกิจกรรมอื่น ๆ เปิดเวทีสำหรับการพูดคุย โดยอาจจะเป็นหัวข้อใกล้ตัว เช่น ของที่เด็กๆ นำมา วันพิเศษ เหตุการณ์พิเศษในโรงเรียน เทศกาลต่างๆ หรือครูอาจจะกำหนดหัวข้อล่วงหน้ากับเด็ก ๆ ไว้ก่อน เพราะเขาจะได้มีเวลาหาข้อมูล อาจจะถามผู้ปกครอง หรือทดลองทำดู เพราะเวลาที่เด็ก ๆ เล่าเรื่องเขาจะกลายเป็นศาสตราจารย์ตัวน้อยผู้เชี่ยวชาญเรื่องที่ตัวเองพูด
เด็ก ๆ จะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ยอมรับความคิดเห็นของเพื่อน ฝึกการใช้ภาษาหาข้อมูล และที่สำคัญการสนทนาทำให้เด็ก ๆ เรียนรู้การใช้ภาษาที่ถูกต้องจากคุณครูด้วย และควรสอนมารยาทในการเป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดีให้เจ้าตัวน้อยทั้งหลายด้วย
2. อยากจะอ่านดังดัง (Reading Aloud)
คุณครูเลือกหนังสือภาพสำหรับเด็กดี ๆ ที่เด็ก ๆ สนใจสักเล่ม แล้วจัดเวลาสำหรับการอ่านออกเสียงให้เด็ก ๆ เป็นประจำ เพราะช่วงเวลานี้เด็ก ๆ จะมีความสุขและรู้สึกดีต่อการอ่าน รวมทั้งกับตัวครูด้วยจัดเด็กเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยก่อนที่จะอ่านเนื้อเรื่อง คุณครูควรแนะนำให้เด็ก ๆ รู้จักชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้แปล ผู้วาดภาพประกอบ และควรชี้นิ้วตามไปด้วยเวลาอ่าน หรืออาจจะถามคำถามให้เด็ก ๆ คิด หรือเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า
หลังจากเล่านิทานจบแล้ว คุณครูควรจัดกิจกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวกับนิทานเรื่องที่เล่า เพื่อให้เด็ก ๆ ได้ทบทวนเนื้อเรื่อง และได้ทำกิจกรรมตามความสนใจ เช่นเตรียมภาพให้เด็กเรียงลำดับเรื่องราว หรือเตรียมสิ่งของที่มีอยู่ในนิทานเพื่อให้เด็ก ๆ ได้เล่น ในกิจกรรมนี้เด็ก ๆ จะเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้หนังสือ และสามารถคาดคะเนได้อีกด้วย

3. หนูเล่าอีกครั้ง (Story Retelling)
หลังจากที่นิทานเรื่องสนุกจบลงอย่างมีความสุข ลองให้เด็ก ๆ ได้เล่านิทานกลับมาให้คุณครูและเพื่อน ๆ ฟัง บ้าง แต่ก่อนที่จะให้เด็กเล่าคุณครูต้องใช้คำถามกระตุ้นให้เด็ก ๆ จับใจความสำคัญ และเป็นตัวอย่างให้เด็กๆ ก่อน หรือเวลาที่ครูเล่าอาจจะถามคำถามให้เด็ก ๆ ได้เชื่อมโยงกับประสบการณ์ตนเอง ถามคำถามให้เด็ก ๆ เดาเรื่องล่วงหน้า ตีความ และพอเล่าจบก็ทบทวนเนื้อเรื่องอีกครั้งด้วยการทำแผนผังนิทาน กล่องนิทาน ภาพตัดต่อนิทาน เป็นต้น เด็ก ๆ จะเกิดแรงจูงใจในการเรียนและได้ลงมือทำในเรื่องที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
4. อ่านด้วยกันนะ (Shared Reading)
หนังสือภาพขนาดใหญ่หรือ Big Book จะเนรมิตความมหัศจรรย์ทางภาษาสำหรับเด็ก ๆ เพียงแค่คุณครูชวนเด็ก ๆ พูดคุยเรื่องที่จะนำมาเล่า เพื่อให้เจ้าตัวเล็กสนใจ และมีความรู้พื้นฐานก่อนฟัง จากนั้นจึงอ่านหนังสือให้เด็ก ๆ ฟังทั้งเรื่อง ชี้คำไปด้วย เพื่อให้เด็ก ๆ คุ้นเคยกับตัวหนังสือ คำ ข้อความ เมื่อเด็ก ๆ เริ่มคุ้นเคยคุณครูก็ปิดข้อความ ปิดคำ แล้วให้เด็ก ๆ ทาย หรือทำบัตรคำให้เด็ก ๆไปหาคำนี้ในหนังสือก็ได้
เด็ก ๆ จะเรียนรู้ว่าคำและข้อความไม่ใช่รูปภาพ และหลังจากอ่านจบก็ทำกิจกรรมสื่อภาษากันในห้องเช่น ทำหนังสือนิทาน แสดงละคร หรือเกมภาษาเช่น หาชื่อตัวละคร การพูดตามเครื่องหมายวรรคตอน เป็นต้น
5. อ่านตามใจหนู (Independent Reading)
นอกจากหนังสือนิทานภาพสวย ๆ แล้ว ยังมีสิ่งอื่น ๆ ที่สามารถให้เด็ก ๆ ได้อ่านอีกมากมาย เช่น ป้ายข้อตกลงในห้อง ปฏิทิน รายการอาหาร คำขวัญ คำคล้องจอง ชื่อต้นไม้ ป้ายวันเกิดเพื่อน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เด็ก ๆ ก็สนใจที่อยากจะอ่านเหมือนกัน และคุณครูควรทำบันทึกการอ่านของเด็ก โดยให้เล่าเรื่องที่ตนเองอ่านให้เพื่อน ๆ และคุณครูฟัง คุณครูก็ช่วยเขียนลงสมุดบันทึกและให้เด็ก ๆ เขียนสิ่งที่ตนเองอ่านไปด้วย
6. หนูอยากอ่านเอง (Sustained Silent Reading)
คราวนี้แหละที่เจ้าตัวยุ่งทั้งหลายจะนิ่งทันที เพราะเราจะให้เขาได้เลือกอ่านตามใจชอบ จะหยิบอะไร จะอ่านอะไรไม่ว่ากัน และที่สำคัญอ่านเสร็จแล้วไม่ต้องให้เด็ก ๆ ทำงานนะ เพราะเขาจะได้เกิดความรู้สึกอยากอ่านอย่างเต็มที่ เวลาอ่านเด็ก ๆ อาจจะพึมพำไปบ้าง พูดบ้าง ก็ปล่อยพวกเขาตามสบาย แต่คุณครูต้องเลือกหนังสือมาอ่านให้เป็นตัวอย่างของเด็ก ๆ ด้วยนะ

7. เขียนด้วยกันนะ (Shared Writing)
คราวนี้คุณครูมาชวนเด็ก ๆ เขียนด้วยการพูดคุยกันเรื่องในชีวิตประจำวัน ครูต้องเป็น
ผู้เริ่มเขียนโดยให้เด็ก ๆ บอกสิ่งที่ต้องการเขียนเป็นข้อความสั้น ๆ เหมาะที่จะเขียน เด็ก ๆ จะเห็นวิธีการเปลี่ยนความคิดมาเป็นข้อความ เห็นลีลามือที่ถูกต้องสวยงาม และควรให้เด็ก ๆ บอกให้ครูเขียนเป็นระยะ กิจกรรมนี้จะทำให้เด็ก ๆ เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเขียน รู้จักตัดสินใจแสดงความคิดเป็นตัวอักษร
คุณครูอาจจะเขียน แบบสำรวจเด็กมาโรงเรียน กิจกรรมประกาศข่าว เมื่อช่วยกันเขียนเสร็จแล้ว ครูควรอ่านให้เด็กฟังอีกครั้ง กิจกรรมนี้คุณครูควรเป็นคนเขียนเองเพื่อป้องกันไม่ให้เด็ก ๆ วิจารณ์เพื่อน ๆ
8. หนูอยากเขียนเอง (Independent Writing)
เด็ก ๆ จะได้ลงมือเขียนเองสักที โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้เขียนเพื่อสื่อความหมายตามความสนใจโดยให้พวกเขาทำ กิจกรรมและเขียนถ่ายทอดผลงานความคิดออกมา เช่นผลงานต่อบล็อก การบันทึกชื่อนิทานที่อ่าน หรือเขียนประกอบบทบาทสมมติ ที่คุณหมอเขียนใบสั่งยา บริกรเขียนรายการอาหาร หรือคุณครูอาจจะเตรียมกิจกรรมให้สอดคล้องกับบทเรียน โดยใช้เนื้อหาการเรียนมาบูรณาการกับการเขียน เช่น เขียนชื่อผลงานการ พิมพ์ภาพอวัยวะต่างๆ ในหน่วยร่างกายของเรา

นอกจากกิจกรรมทั้ง 8 วิธีแล้ว การที่คุณครูจัดห้องเรียนให้ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษา ก็จะช่วยคุณครูได้อีกมากทีเดียว ลองดูสิว่าในห้องคุณครูมีครบ 4 หัวข้อนี้ไหม

1.วรรณกรรมสำหรับเด็ก ต้องมีหลายประเภททั้งนิทานชาดก นิทานอธิบายเหตุการณ์ นิทานพื้นบ้าน ตำนาน เทพนิยาย เรื่องราวประวัติศาสตร์ ชีวประวัติบุคคล หนังสือคำกลอน ที่สำคัญหนังสือภาพที่ไม่มีตัวอักษร

2. ของที่ใช้อ้างอิงได้ เป็นต้นว่า สารานุกรมภาพสำหรับเด็ก พจนานุกรมเล่มเล็ก แผนที่ บัญชีคำศัพท์

3. นิตยสารสำหรับเด็ก เพราะให้ข้อมูลที่ทันสมัย ฉับไวต่อเหตุการณ์ ในเมืองไทยอาจจะยังมีน้อยหรือแฝงอยู่กับนิตยสารผู้หญิง คุณครูสามารถเลือกตัดมาเป็นตอน ๆ ให้เด็ก ๆ ก็ได้

4. เครื่องเขียนนานา ทั้งกระดาษมากมาย หลายแบบ หลายสี หลายขนาด ดินสอ ปากกา ตรายาง สีไม้ สีเทียน สีน้ำ เรียกว่านึกอะไรออกเตรียมไว้ให้เด็ก ๆ ได้หยิบมาใช้งานสะดวก ๆ ด้วยตนเองได้ด้วย
เพียงเท่านี้เด็ก ๆ ทั้งหลายก็จะกลายเป็นเด็กมหัศจรรย์ เพราะได้เรียนรู้ภาษาอย่างสร้างสรรค์ เหมาะสมกับวัย และความสนใจของเขา ในโลกแห่งการเรียนรู้ปัจจุบันอย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น