welcoee

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อบรมประดิษฐ์ดอกไม้ติดบอร์ด

อบรมประดิษฐ์ดอกไม้

 
ร่วมกันประดิษฐ์ดอกพุทธรักษา

 
ประดิษฐ์ดอกกุหลาบกับเพื่อน

ผลงานที่ได้

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่16

ครั้งที่16                            
                                       วันที่ 28 กันยายน 2555
           วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการใช้"แท็บแล็ต" นักเด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่1 ให้นักษาบอกข้อดีข้อเสียในการใช้ ตามความคิดของนักศึกษา


วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่15

ครั้งที่15
วันที่ 21 กันยายน 2555
           วันนี้อาจารย์ตรวจความเรียบร้อย Blogger ของนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาไปแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม 
           ขบวนการในการทำงาน
1.ตั้งวัตถุประสงค์ขึ้นก่อนเป็นอันดับแรก
2.ศึกษาค้าคว้าข้อมูลแหล่งข่าวต่างๆ
3.จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์
5.ปรับปรุงแก้ไข และตกแต่งให้สวยงาม

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่14

ครั้งที่14
วันที่ 14 กันยายน 2555
           อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มที่ยังไม่ออกมาร้องเพลง ให้ออกมาร้องให้คบทุกกลุ่ม จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาออกมาเล่านิทานเนคนิคต่างๆตามที่นักศึกษาจับฉลากได้ ออกมาเล่าหน้าชั้นเรียน
กลุ่มของดิฉันออกไปเล่า นิทานเล่าไปพับไป
เรื่องแพวิเศษ



เพิ่มเติม 

วิธีการเล่านิทานสำหรับเด็กเล็ก

              การเล่านิทานให้เด็กได้ฟังมีอย่างหลากหลายวิธี  ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์และการเตรียม
อุปกรณ์และความพร้อมของผู้เล่านิทานที่ต้องการให้เกิดกับเด็กเป็นสำคัญ    วิธีการเล่าพอจะ
กล่าวได้ดังนี้คือ
              - เล่านิทานแบบปากเปล่า   โดยไม่มีการใช้สื่อประกอบการเล่า  นอกจากน้ำเสียงและ
จังหวะการพูดที่ใช้เสียงสูงต่ำ  และการเล่าที่เป็นต้องใช้ศิลปะในการพูด
              - เล่าประกอบเสียง  เช่น  เสียงเพลง  เสียงดนตรี   เทปบันทึกเสียงต่างๆ   เป็นการสร้าง
บรรยากาศที่กระตุ้นเร้าให้เกิดความตื่นเต้น
              - เล่าประกอบอุปกรณ์  หรือสิ่งประดิษฐ์  เช่น  หน้ากาก  หุ่นมือ  หุ่นเชิด  ตุ๊กตา  เพื่อสร้าง
ความสนใจ  สนุกสนานให้กับเด็ก
              - เล่าประกอบภาพ เช่น  ภาพวาด  ภาพจากหนังสือ    ภาพเคลื่อนไหว เพื่อจูงใจเด็ก
เด็กได้เกิดความสนุกสนานและจินตนาการ
              - เล่าประกอบท่าทาง   ซึ่งมีทั้งท่าทางผู้เล่า  และผู้ฟัง   ทำให้เด็กสามารถสร้างจินตนาการ
ในลักษณะเป็นรูปธรรมมากขึ้น
              ดังนั้น  ผู้ที่จะเล่านิทานให้เด็กควรเตรียมตัวและเตรียมสิ่งต่างๆให้พร้อมเพื่อให้เกิดประโยชน์

ตัวอย่างการเล่านิทาน เล่าไปพับไป

ตัวอย่างการเล่านิทาน เล่าไปไปวาดไป




บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่13

ครั้งที่13
วันที่ 7 กันยายน 2555
          วันนี้อาจารย์แจกสีพร้อมกับแผ่นประดิษฐ์ต้วอักษรให้นักศึกษาคนละ 1 ชุด จากนั้นอาจารย์ได้สรุปเรื่องของภาษาของเด็กเริ่มต้นจากการสัมภาษณ์และวิเคราะห์ทางภาษาของเด็ก อาจารย์ตัวอย่างสื่อที่ใช่ส่งเสริมทางภาษา ได้แก่ นิทาน เพลง คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย อาจารย์พูดถึงการจัดมุมประสบการณ์ทางภาษา เช่น รูปภาพ นิทาน บัตรคำ  อาจารย์เน้นความสำคัญการส่งเสริมทางภาษามี 4 ด้าน คือ การฟังคือฟังเทปฟังแผ่นเสียง การพูดคือให้เด้กเล่นหุ่นมือ การอ่านคือมีนิทานให้เด็กได้อ่าน การเขียนคือมีกระดาษเล็กๆใส่กล่องกับดินสอไว้ให้เด็กๆได้เขียนฝึกเขียน

เพิ่มเติม
  สื่อการสอนเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา
           เนตรนภา ธรรมบวร กล่าวโดยสรุปถึงการเรียนรู้ทางภาษาของเด็กว่า การสอนภาษาแบบเดิมไม่เน้นความสำคัญของประสบการณ์ และภาษาที่เด็กใช่ในชีวิตประจำวัน แต่การสอนแบบธรรมชาติหรือแบบองค์รวมเป็นการสอนที่มีแนวความคิดว่า เด็กจะพยายามหาวีธีที่จะนำเสอนประสบการณ์ของตนผ่านการเล่น การลงมือปฏิบัติ การสือสารในห้องเรียนที่มีการเรียนการสอน

   กิจกรรมสนุกส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
            การสอนภาษาสำหรับเด็กเล็กให้เป็นเรื่องสนุกพร้อมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ ภาษานั้น ต้องทำกิจกรรมให้เป็นเรื่องท้าทายความสามารถของเด็ก และต้องไม่ยากเกินความสามารถที่เขาจะทำเองได้ แต่ก็ต้องมีผู้ใหญ่คอยช่วยเหลืออยู่ใกล้ๆ ที่สำคัญกิจกรรมต้องมีหลากหลาย เพื่อตอบสนองความแตกต่างของเด็ก ๆ
1. เรื่องเล่าเช้านี้ (Morning Message)
ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการได้สนทนากันตอนเช้าระหว่างคุณครูกับเด็ก และระหว่างกับเด็กด้วยกัน เพราะโดยธรรมชาติของเด็ก ๆ แล้ว มีเรื่องมากมายที่อยากจะเล่าให้คุณครูฟัง ดังนั้นเวลาในช่วงเช้าก่อนเริ่มต้นกิจกรรมอื่น ๆ เปิดเวทีสำหรับการพูดคุย โดยอาจจะเป็นหัวข้อใกล้ตัว เช่น ของที่เด็กๆ นำมา วันพิเศษ เหตุการณ์พิเศษในโรงเรียน เทศกาลต่างๆ หรือครูอาจจะกำหนดหัวข้อล่วงหน้ากับเด็ก ๆ ไว้ก่อน เพราะเขาจะได้มีเวลาหาข้อมูล อาจจะถามผู้ปกครอง หรือทดลองทำดู เพราะเวลาที่เด็ก ๆ เล่าเรื่องเขาจะกลายเป็นศาสตราจารย์ตัวน้อยผู้เชี่ยวชาญเรื่องที่ตัวเองพูด
เด็ก ๆ จะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ยอมรับความคิดเห็นของเพื่อน ฝึกการใช้ภาษาหาข้อมูล และที่สำคัญการสนทนาทำให้เด็ก ๆ เรียนรู้การใช้ภาษาที่ถูกต้องจากคุณครูด้วย และควรสอนมารยาทในการเป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดีให้เจ้าตัวน้อยทั้งหลายด้วย
2. อยากจะอ่านดังดัง (Reading Aloud)
คุณครูเลือกหนังสือภาพสำหรับเด็กดี ๆ ที่เด็ก ๆ สนใจสักเล่ม แล้วจัดเวลาสำหรับการอ่านออกเสียงให้เด็ก ๆ เป็นประจำ เพราะช่วงเวลานี้เด็ก ๆ จะมีความสุขและรู้สึกดีต่อการอ่าน รวมทั้งกับตัวครูด้วยจัดเด็กเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยก่อนที่จะอ่านเนื้อเรื่อง คุณครูควรแนะนำให้เด็ก ๆ รู้จักชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้แปล ผู้วาดภาพประกอบ และควรชี้นิ้วตามไปด้วยเวลาอ่าน หรืออาจจะถามคำถามให้เด็ก ๆ คิด หรือเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า
หลังจากเล่านิทานจบแล้ว คุณครูควรจัดกิจกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวกับนิทานเรื่องที่เล่า เพื่อให้เด็ก ๆ ได้ทบทวนเนื้อเรื่อง และได้ทำกิจกรรมตามความสนใจ เช่นเตรียมภาพให้เด็กเรียงลำดับเรื่องราว หรือเตรียมสิ่งของที่มีอยู่ในนิทานเพื่อให้เด็ก ๆ ได้เล่น ในกิจกรรมนี้เด็ก ๆ จะเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้หนังสือ และสามารถคาดคะเนได้อีกด้วย

3. หนูเล่าอีกครั้ง (Story Retelling)
หลังจากที่นิทานเรื่องสนุกจบลงอย่างมีความสุข ลองให้เด็ก ๆ ได้เล่านิทานกลับมาให้คุณครูและเพื่อน ๆ ฟัง บ้าง แต่ก่อนที่จะให้เด็กเล่าคุณครูต้องใช้คำถามกระตุ้นให้เด็ก ๆ จับใจความสำคัญ และเป็นตัวอย่างให้เด็กๆ ก่อน หรือเวลาที่ครูเล่าอาจจะถามคำถามให้เด็ก ๆ ได้เชื่อมโยงกับประสบการณ์ตนเอง ถามคำถามให้เด็ก ๆ เดาเรื่องล่วงหน้า ตีความ และพอเล่าจบก็ทบทวนเนื้อเรื่องอีกครั้งด้วยการทำแผนผังนิทาน กล่องนิทาน ภาพตัดต่อนิทาน เป็นต้น เด็ก ๆ จะเกิดแรงจูงใจในการเรียนและได้ลงมือทำในเรื่องที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
4. อ่านด้วยกันนะ (Shared Reading)
หนังสือภาพขนาดใหญ่หรือ Big Book จะเนรมิตความมหัศจรรย์ทางภาษาสำหรับเด็ก ๆ เพียงแค่คุณครูชวนเด็ก ๆ พูดคุยเรื่องที่จะนำมาเล่า เพื่อให้เจ้าตัวเล็กสนใจ และมีความรู้พื้นฐานก่อนฟัง จากนั้นจึงอ่านหนังสือให้เด็ก ๆ ฟังทั้งเรื่อง ชี้คำไปด้วย เพื่อให้เด็ก ๆ คุ้นเคยกับตัวหนังสือ คำ ข้อความ เมื่อเด็ก ๆ เริ่มคุ้นเคยคุณครูก็ปิดข้อความ ปิดคำ แล้วให้เด็ก ๆ ทาย หรือทำบัตรคำให้เด็ก ๆไปหาคำนี้ในหนังสือก็ได้
เด็ก ๆ จะเรียนรู้ว่าคำและข้อความไม่ใช่รูปภาพ และหลังจากอ่านจบก็ทำกิจกรรมสื่อภาษากันในห้องเช่น ทำหนังสือนิทาน แสดงละคร หรือเกมภาษาเช่น หาชื่อตัวละคร การพูดตามเครื่องหมายวรรคตอน เป็นต้น
5. อ่านตามใจหนู (Independent Reading)
นอกจากหนังสือนิทานภาพสวย ๆ แล้ว ยังมีสิ่งอื่น ๆ ที่สามารถให้เด็ก ๆ ได้อ่านอีกมากมาย เช่น ป้ายข้อตกลงในห้อง ปฏิทิน รายการอาหาร คำขวัญ คำคล้องจอง ชื่อต้นไม้ ป้ายวันเกิดเพื่อน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เด็ก ๆ ก็สนใจที่อยากจะอ่านเหมือนกัน และคุณครูควรทำบันทึกการอ่านของเด็ก โดยให้เล่าเรื่องที่ตนเองอ่านให้เพื่อน ๆ และคุณครูฟัง คุณครูก็ช่วยเขียนลงสมุดบันทึกและให้เด็ก ๆ เขียนสิ่งที่ตนเองอ่านไปด้วย
6. หนูอยากอ่านเอง (Sustained Silent Reading)
คราวนี้แหละที่เจ้าตัวยุ่งทั้งหลายจะนิ่งทันที เพราะเราจะให้เขาได้เลือกอ่านตามใจชอบ จะหยิบอะไร จะอ่านอะไรไม่ว่ากัน และที่สำคัญอ่านเสร็จแล้วไม่ต้องให้เด็ก ๆ ทำงานนะ เพราะเขาจะได้เกิดความรู้สึกอยากอ่านอย่างเต็มที่ เวลาอ่านเด็ก ๆ อาจจะพึมพำไปบ้าง พูดบ้าง ก็ปล่อยพวกเขาตามสบาย แต่คุณครูต้องเลือกหนังสือมาอ่านให้เป็นตัวอย่างของเด็ก ๆ ด้วยนะ

7. เขียนด้วยกันนะ (Shared Writing)
คราวนี้คุณครูมาชวนเด็ก ๆ เขียนด้วยการพูดคุยกันเรื่องในชีวิตประจำวัน ครูต้องเป็น
ผู้เริ่มเขียนโดยให้เด็ก ๆ บอกสิ่งที่ต้องการเขียนเป็นข้อความสั้น ๆ เหมาะที่จะเขียน เด็ก ๆ จะเห็นวิธีการเปลี่ยนความคิดมาเป็นข้อความ เห็นลีลามือที่ถูกต้องสวยงาม และควรให้เด็ก ๆ บอกให้ครูเขียนเป็นระยะ กิจกรรมนี้จะทำให้เด็ก ๆ เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเขียน รู้จักตัดสินใจแสดงความคิดเป็นตัวอักษร
คุณครูอาจจะเขียน แบบสำรวจเด็กมาโรงเรียน กิจกรรมประกาศข่าว เมื่อช่วยกันเขียนเสร็จแล้ว ครูควรอ่านให้เด็กฟังอีกครั้ง กิจกรรมนี้คุณครูควรเป็นคนเขียนเองเพื่อป้องกันไม่ให้เด็ก ๆ วิจารณ์เพื่อน ๆ
8. หนูอยากเขียนเอง (Independent Writing)
เด็ก ๆ จะได้ลงมือเขียนเองสักที โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้เขียนเพื่อสื่อความหมายตามความสนใจโดยให้พวกเขาทำ กิจกรรมและเขียนถ่ายทอดผลงานความคิดออกมา เช่นผลงานต่อบล็อก การบันทึกชื่อนิทานที่อ่าน หรือเขียนประกอบบทบาทสมมติ ที่คุณหมอเขียนใบสั่งยา บริกรเขียนรายการอาหาร หรือคุณครูอาจจะเตรียมกิจกรรมให้สอดคล้องกับบทเรียน โดยใช้เนื้อหาการเรียนมาบูรณาการกับการเขียน เช่น เขียนชื่อผลงานการ พิมพ์ภาพอวัยวะต่างๆ ในหน่วยร่างกายของเรา

นอกจากกิจกรรมทั้ง 8 วิธีแล้ว การที่คุณครูจัดห้องเรียนให้ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษา ก็จะช่วยคุณครูได้อีกมากทีเดียว ลองดูสิว่าในห้องคุณครูมีครบ 4 หัวข้อนี้ไหม

1.วรรณกรรมสำหรับเด็ก ต้องมีหลายประเภททั้งนิทานชาดก นิทานอธิบายเหตุการณ์ นิทานพื้นบ้าน ตำนาน เทพนิยาย เรื่องราวประวัติศาสตร์ ชีวประวัติบุคคล หนังสือคำกลอน ที่สำคัญหนังสือภาพที่ไม่มีตัวอักษร

2. ของที่ใช้อ้างอิงได้ เป็นต้นว่า สารานุกรมภาพสำหรับเด็ก พจนานุกรมเล่มเล็ก แผนที่ บัญชีคำศัพท์

3. นิตยสารสำหรับเด็ก เพราะให้ข้อมูลที่ทันสมัย ฉับไวต่อเหตุการณ์ ในเมืองไทยอาจจะยังมีน้อยหรือแฝงอยู่กับนิตยสารผู้หญิง คุณครูสามารถเลือกตัดมาเป็นตอน ๆ ให้เด็ก ๆ ก็ได้

4. เครื่องเขียนนานา ทั้งกระดาษมากมาย หลายแบบ หลายสี หลายขนาด ดินสอ ปากกา ตรายาง สีไม้ สีเทียน สีน้ำ เรียกว่านึกอะไรออกเตรียมไว้ให้เด็ก ๆ ได้หยิบมาใช้งานสะดวก ๆ ด้วยตนเองได้ด้วย
เพียงเท่านี้เด็ก ๆ ทั้งหลายก็จะกลายเป็นเด็กมหัศจรรย์ เพราะได้เรียนรู้ภาษาอย่างสร้างสรรค์ เหมาะสมกับวัย และความสนใจของเขา ในโลกแห่งการเรียนรู้ปัจจุบันอย่างแท้จริง

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่12

ครั้งที่12
วันที่ 31 สิงหาคม 2555
           วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอเพลงของนักศึกษาที่เตรียมมา แล้วออกมาหน้าชั้นเรียนโดยให้สอนเพื่อนร้องพร้อมกับทำท่าประกอบ  อาจารย์ได้ถ่าย VDO เก็บไว้เป็นผลงานของนักศึกษา
กลุ่มของดิฉันนำเสนอเพลงผัก
แครอท แครอท แครอท
คะน้า คะน้า คะน้า
แตงกวา แตงกวา แตงกวา
คุณแม่นำมาผัดหนึ่งต้มทอด
เด็กๆชอบทานตลอด
เด็กๆชอบทานตลอด
ผัดหนึ่งต้มทอดอร่อยแข็งแรง
ผัดหนึ่งต้มทอดอร่อยแข็งแรง





บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่11

ครั้งที่11
วันที่ 24 สิงหาคม 2555
          วันนี้อาจารย์ให้ฟังเพลงเกาะสมุย แล้ววิเคราะห์ว่าในเพลงสื่อถึงอะไร วัตถุประสงค์ของเพลงคืออะไร และนักศึกษาฟังแล้วรู้สึกอย่างไร
                                     
                                                         เพลงเกาะสมุย

         
           อาจารย์ยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช่วรรณกรรมเป็นพื้นฐาน อาจารย์ตัวอย่างนิทานเรื่อง ช้างน้อยอัลเฟรด
เรื่องย่อ            อัลเฟรดเป็นช้างที่มีงวงยาวมากอัลเฟรดรู้สึกอายที่ตนเองมีงวงยาวกว่าช้างตัว อื่นๆ จึงพยายามซ่อนงวงของตนวันหนึ่งอัลเฟรดได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือของ เด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติดอยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรดได้ใช้งวงช่วยเด็กผู้หญิงลงมา สัตว์อื่นๆ พากันชื่นชมอัลเฟรด ตั้งแต่นั้นมาอัลเฟรดก็อยู่อย่างมีความสุขแม้ว่าตนเองจะไม่เหมือนใคร

  หลังจากที่ครูเล่าเรื่อง "ช้างน้อยอัลเฟรด" ให้เด็กฟังแล้ว เด็กๆ ผลัดเปลี่ยนกันออกมาเล่าเรื่องให้เพื่อนๆ ฟัง ทั้งการเล่าเรื่องจากหนังสือนิทาน และเล่าเรื่องโดยการเรียงลำดับภาพเหตุการณ์จากนิทาน กิจกรรมนี้เป็นการส่งเสริมความสามารถในการจับใจความจากการดูภาพและฟังเรื่อง ราว เด็กได้ฝึกแปลความ ตีความ คาดคะเนตรวจสอบความเข้าใจของตนเอง และเก็บประเด็นสำคัญ แล้วผสมผสานสิ่งที่ฟังเป็นเรื่องราว แล้วพูดถ่ายทอดความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการอ่าน
        เด็กๆ แสดงละครสร้างสรรค์เรื่อง "ช้างน้อยอัลเฟรด" โดยครูช่วยเล่าเรื่องเด็กๆ พูดและแสดงบทบาทตามความรู้สึกของตนเอง เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเลือกสัญลักษณ์ที่เหมาะสมในการนำเสนอความคิด ด้วยสีหน้า ท่าทาง และคำพูดให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ
        เด็กๆ ช่วยกันประดิษฐ์ช้างน้อยอัลเฟรด ซึ่งทำให้เด็กรู้จักการทำงานตามลำดับขั้นตอนตั้งแต่ฉีกกระดาษ ทากาว ปะกระดาษบนกล่อง นำฟองน้ำจุ่มสีมาปั๊มที่ตัวช้าง ติดขา ติดงวง ติดหาง ทาสีเพิ่มเติม และติดตา เด็กๆ ได้ทำงานแบบร่วมมือ มีความคิดในเรื่องของการประดิษฐ์ของเล่นด้วยตนเอง รวมทั้งมีโอกาสได้ชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
       เด็กๆ เล่นเกมจับคู่ช้างที่เหมือนกัน เด็กๆ สนุกกับการสังเกตความเหมือนและความต่างของภาพ และตามหาเพื่อนที่ได้รูปช้างรูปเดียวกัน            
         เด็กๆ ประดิษฐ์ช้างด้วยการบีบกาวตามแนวเส้น แล้วนำทรายสีมาโรย เด็กๆฝึกการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็กและได้เรียนรู้ว่าทรายติดอยู่ เฉพาะส่วนที่มีกาวเท่านั้น          
        เด็กๆ ประดิษฐ์ดอกทานตะวันเพื่อสร้างฉากในห้องเรียน เช่นเดียวกับปกหนังสือนิทานเรื่องช้างน้อยอัลเฟรด เด็กได้ฝึกทักษะการใช้กรรไกร ฝึกการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็กอีกทั้งยังมีโอกาสได้ชื่นชมและสร้าง สรรค์สิ่งสวยงามอีกด้วย
         เรื่องของช้างน้อยอัลเฟรดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสวนสัตว์การไปทัศนศึกษาที่ สวนสัตว์ดุสิตจึงทำให้เด็กได้เชื่อมโยงเรื่องราวในนิทานกับสถานที่จริง ได้สังเกตช้างอย่างใกล้ชิด ได้ให้อาหารช้างเห็นรูปจำลองช้างหลายรูปแบบรวมทั้งได้เล่นกระดานลื่นเหมือน ในนิทานด้วย
         เด็กๆ สังเกตรูปนูนต่ำช้างที่รั้วบ้านตรงข้ามกับโรงเรียนกิจกรรมนี้ช่วยให้เด็ก เรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของช้างได้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากสามารถจับต้องได้อย่างใกล้ชิด ทำให้เด็กบางคนมีการเปลี่ยนแปลงการวาดรูปช้างอย่างเห็นชัด
       เด็กๆ ต่างประหลาดใจมากเมื่อระบายสีกระดาษแล้วพบช้างงวงยาว ช้างหูใหญ่ และช้างขายาวซึ่งแตกต่างกัน เด็กๆ เรียนรู้ที่จะจำแนกช้างที่แตกต่างกัน รวมทั้งเรียนรู้ว่าแม้เราจะต่างกัน แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
       เด็กๆ ใช้พิมพ์กดขนมปัง และตกแต่งด้วยแยม เพื่อทำเป็นขนมปังรูปช้าง เด็กๆ ได้ใช้xระสาทสัมผัสทั้งห้า ตั้งแต่การมองเห็น สัมผัส ได้ยินเสียงถุงขนม เสียงจากขวดแยมได้ดมกลิ่น และได้ลิ้มรส ซึ่งเป็นประสบการณ์พื้นฐานที่สำคัญของการคิด
        เด็กๆ ทำท่าทางประกอบเพลงช้างน้อยอัลเฟรด กิจกรรมนี้ทำให้เด็กๆ ได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างสนุกสนาน ฝึกการทรงตัว และการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่

งานที่ได้รับมอบหมายสัปดาห์ต่อไป
         ให้นักศึกษาแต่งเพลงเกี่ยวกับอะไรก็ได้พร้อมท่าประกอบต้องมีทำนอง แล้วให้ทำลงใน  
power point
         ให้นักศึกษาส่งตัวแทนของกลุ่มออกมาเล่นนิทานหน้าชั้นเรียนตามที่ตนจับฉลากได้ กลุ่มดิฉันจับได้เล่าไปพับไป

เรียนชดเชยสัปดาห์ที่10

กิจกรรมในวันอาทิตย์
       
           -ให้นักศึกษาทุกคนหาสิ่งของที่ติดตัวเลือกมาหนึ่งชิ้นที่นักศึกษาชอบมากที่สุดแล้วบอกเหตุผลว่าทำไมถึงชอบ

           -ให้นักศึกษาทุกคนหาสิ่งของที่ติดตัวหรือมีอยู่เลือกมาหนึ่งชิ้น ชิ้นที่ชอบที่สุดแล้วให้นักศึกษาโฆษนาของชิ้นนั้น



           -ให้นักศึกษาวาดภาพแทนคำอธิบาย

           -ให้นักศึกษาแต่ละคนวาดภาพตามใจชอบ แล้วให้นักศึกษาแต่ละแถวออกมาหน้าชั้นเรียนแล้วอธิบายรูปที่วาดให้เป็นเรื่องราวเหมือนเล่าตามจินตนาการ
 
           -แบ่งนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ๆ โดยให้นักศึกษากลุ่มหนึ่งเป็นฝ่ายอ่านข่าว อีกกลุ่มหนึ่งเป็นประชาสัมพันธ์
           -ให้นักศึกษาบอกชื่อตัวเองพร้อมทำท่าประกอบ หลังจากนั้นให้นักศึกษาบอกชื่อเพื่อนทางขวามือแล้วทำท่าประกอบของเพื่อน
          

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่10

ครั้งที่10
วันที่ 17 สิงหาคม 2555
           ไม่มีการเรียนการสอน

เนื่องจาก:อาจารย์ติดธุระ นัดเรียนชดเชยในวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่9

ครั้งที่9
วันที่ 17 สิงหาคม 2555
         วันนี้อาจารย์ได้สั่งงาน อาจารย์ได้นำปฏิทินที่เป็นสื่อการเรียนการสอนมาให้ดูเพื่อที่จะมอบหมายงานให้นักศึกษาทำ โดยให้นักศึกษานำปฏิทินที่ไม่ใช่แล้วมาประดิษฐ์เป็นสื่อให้เด็กใช่ในการอ่าน งานอารย์มอบหมายให้ทำเป็นกลุ่ม และสัปดาห์หน้าทุกกลุ่มต้องพร้อมที่จะนำเสนอผลงานของกลุ่มตัวเอง


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่8

ครั้งที่8
วันที่ 3 สิงหาคม 2555
         วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน

เนื่องจาก:เป็นวันหยุดราชการ เพราะเป็นวันเข้าพรรษา

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่7

ครั้งที่7
 วันที่ 27 กรกฎาคม 2555
         แต่ละกลุ่มออกมานำเสอนรายงานทีไปเล่นนิทานให้เด็กฟังตั้งแต่สัปดาห์ทีแล้ว และให้นำเสนอการสังเกตพฤติกรรมของเด็กขณะฟังนิทาน จากนั้นอาจารย์ได้สรุปกิจกรรมที่ให้ไปทำ พร้อมกับติชมแนะนำแก้ปรับปรุ่งให้กับนักศึกษาบางกลุ่ม

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่6

ครั้งที่6
วันที่ 20 กรกฎาคม 2555
         อาจารย์สั่งงานโดยให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม เป็นกลุ่มเดิมซึ้งทั้งหมดจะมีอยู่ 11 กลุ่มดังนี้
นิทานเล่มเล็กจะมีอยู่ 4 กลุ่ม คือ อนุบาล1 อนุบาล2 อนุบาล3 และชั้นประถม1
นิทานเล่มใหญ่จะมีอยู่ 4 กลุ่ม คือ อนุบาล1 อนุบาล2 อนุบาล3 และชั้นประถม1
VDO จะมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ อนุบาล1 อนุบาล2 และอนุบาล3
         ให้แต่ละกลุ่มไปเล่นนิทานตามที่ตนจับฉลากได้ ไปเล่นเล่นให้น้องๆอยู่ในโรงเรียนสาธิตฟัง จากนั้นให้สังเกตุพฤติกรรมให้และให้จดบันทึกอย่างระเอียดเกี่ยวกับลักษณะท่าทางการแสดงออกทางภาษาของเด็ก และเมื่อเล่าจบให้ลองถามเด็กเกี่ยวกับนิทานที่เล่าให้ฟังเพื่อที่เราจะดูพัฒนาการของเด็ก หรือขณะที่เล่าอาจจะให้เด็กๆมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และนำผลที่ได้มาเสนอในสัปดาห์ต่อไป
          โดยกลุ่มของดิฉันได้ นิทานเล่มใหญ่โดยเล่าให้น้องประถม1ฟัง

บันทึกกาเข้ารเรียนครั้งที่5

ครั้งที่5
วันที่ 13 กรกฎาคม 2555
         ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานกลุ่ม ที่อาจารย์มอบหมายให้ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ทั้งหมดมีอยู่ 5 กลุ่ม ดังนี้
          กลุ่มที่ 1 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 4 ขวบ 
          กลุ่มที่ 2 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 3 ขวบ
          กลุ่มที่ 3 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 2 ขวบ
          กลุ่มที่ 4 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 6 ขวบ
          กลุ่มที่ 5 เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 9-11 ขวบ
โดยกลุ่มของดิฉันได้ เรื่องพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 4 ขวบ
เพิ่มเติม
        พัฒนาการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย อายุ 3-4 ปี- พุดเสียงสระ เสียงวรรณยุกต์และตัวสะกดได้ชัดครบทุกเสียง แต่เสียงพยัญชนะ ม น ห ย ด อ ว บ ก ป ท ต ล ว พ ง ด มีการพูดไม่ชัดเจนบ้าง
และพูดไม่คล่อง
- พูดคำศัพท์ได้ประมาณ 900 – 1500 คำ
- ใช้สรรพนานที่เป็นพหูพจน์ สรรพนามแทนเพศ คำนามและคำกริยา ได้
- พูดวลีหรือประโยคที่มีความยาว 3 คำขึ้นไป
- สนทนาได้ประมาณ 5 นาที
- ซักถาม อะไร ใคร ที่ไหน ทำไม
- ใช้คำสันธาน “และ”
อายุ 4 - 5 ปี- พูดเสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกดได้ชัดครบทุกเสียง พูดเสียงพยัญชนะ ฟ และ ช ได้ชัดจนขึ้น พูดไม่คล่องเป็นบางครั้ง
- พูดคำศัพท์ได้ประมาณ 1500 – 2000 คำ
- ใช้คำกริยา คำวิเศษณ์ คำลงท้ายและคำอุทานได้
- พูดประโยคที่มีความยาวได้ 4 คำ ขึ้นไปและเป็นประโยคที่เป็นเหตุเป็นผล
- เล่าเรื่องเกี่ยวกับตนเองและผู้อื่นได้โดยผู้ใหญ่แนะเล็กน้อย
- ตอบคำถามง่ายๆได้ มักถาม เมื่อไหร่ อย่างไร
- ใช้คำสันธาน “แต่” “เพราะว่า”
อายุ 5 - 6 ปี- พูดเสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกดได้ชัดครบทุกเสียง พูดเสียงพยัญชนะ ส ได้ชัดเจนขึ้น เสียง ร อาจยังไม่ชัด
- พูดคำศัพท์ไดประมาณ 2500 – 2800 คำ
- ใช้คำสรรพนาม คำกริยา คำบุพบท ได้ถูกต้อง
- พูดประโยคที่มีความยาว5 – 6 คำขึ้นไป เช่นประโยคที่มีความซับซ้อนขึ้น และมักใช้ประโยคคำสั่ง
- พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ กับผู้อื่นได้อย่างสัมพันธ์กับเรื่องที่พูด
พัฒนาการด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย
ขั้น ที่ 1 การอ่านขั้นแรกเริ่ม เด็กจะดูหนังสือเรื่องที่ชอบ พูดข้อความในหนังสือด้วยภาษาของตนทำท่าทางเหมือนอ่านหนังสือ ไม่สนใจข้อความตามลำดับของเรื่อง
ขั้นที่ 2 การอ่านขั้นแรกเริ่มในระยะก้าวหน้าเด็กจะกวาดตามองข้อความตามบรรทัด ดูข้อความที่มีตัวหนังสือตัวใหญ่
ขั้นที่ 3 การในระยะที่กำลังที่จะก้าวไปสู่การอ่านขั้นต้น เด็กจะรู้จักคำที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ชี้และบอกชื่อของตัวอักษรส่วนใหญ่ได้
ขั้น ที่ 4 การอ่านขั้นต้น เด็กจะชี้หรือกวาดตามองจุดเริ่มต้นและจุดจบของคำบางคำ ใช้เสียงพยัญชนะที่รู้จักในการคาดเดา คัดลอกหรือเขียนสื่อความหมายโดยใช้ภาษาง่ายๆของตนเอง
ขั้นที่ 5 การอ่านขั้นต้นในระยะก้าวหน้าคาดเดาข้อความจากสิ่งชี้แนะโดยดูพยัญชนะตัวแรก ของคำ จำและตรวจสอบตัวอักษรที่สัมพันธ์กับเสียงของคำ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่4

ครั้งที่4
วันที่ 6 กรกฎาคม 2555
         วันนีไม่มีการเรียนการสอน เพราะอาจารย์ให้ทุกกลุ่มกลับไปแก้ไขปรับปรุ่งงานมาใหม่ให้เรียบร้อย และในสัปดาห์ที่ 5 ให้นักษาทุกกลุ่มออกมารายงาน ซึ่งนักศึกษาทุกกลุ่มต้องเตรียมพร้อมและต้องคำนึงว่าจะทำงานอย่างไรให้เพื่อนสนใจ หรือสะดุดตาเพื่อที่รายงานของเราจึงจะน่าสนใจ โดยจัดเรียงลำดับตอนให้เหมาะสมให้ดีและทำยังไงเพื่อนถึงอยากติดตาม

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่3

ครั้งที่3
วันที่ 29 มิถุนายน 2555
          วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน ครูสั่งงานให้นักศึกษาไปค้นคว้ารายละเอียดในหัวข้อที่ได้รับ มาทำรายเป็นรายงาน และให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมารายงานในสัปดาห์ต่อไป

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 2

ครั้งที่ 2
22/06/2555
เรียนเวลา 14.10-17.30
 วันนี้อาจารย์ ให้ความหมายเกี่ยวกับรายวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็ก โดยให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการถามตอบเกี่ยวกับความหมายของวิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กจะมีหัวข้อใหญ่ๆคือ การจัดประสบการณ์ พัฒนาการ วิธีการเรียนรู้ของเด็ก แต่ล่ะข้อก็จะมีความหมายและหัวข้อย้อยออกมาอีก

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่1

 ครั้งที่ 1
 วันที่ 15/06/2555
 เรียนวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กประฐมวัย
    อาจารย์ได้ย้ายห้องเรียนจากห้อง441มาเรียนที่238เป็นห้องคอมพิวเตอร์ และให้นักศึกษา2คนต่อคอมพิวเตอร์1เครื่อง อาจารย์ให้สร้างบล๊อกเกอร์ส่วนตัว เพื่่อที่จะเก็บสะสมผลงานของนักศึกษา อาจารย์ให้ออกแบบบล๊อกที่สร้างสรรค์แล้วให้คะแนะตามความเหมาะสม ขณะทำงานได้ประสบปัญหาคือ อินเตอรืเน๊ทช้าเนื่องจากเข้าใช่งานเป้นจำนวนมาก และมีเพื่อนบางคนสมัครไม่ได้  และอาจารย์ได้บอกข้อตกลงเกี่ยวการเรียนในรายวิชานี้ คือ ก่อนเข้าห้องต้องถอดรองเท้าทุกครั้ง ให้แต่กายให้ถูกระเบียบไม่ใช่ชุดพละมาเรียน เข้าเรียนให้ตรงเวลา